การรู้เท่าทันสื่อ
การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) คือ ความสามารถที่จะเข้าใจวิธีการทำงานของสื่อสารมวลชน ว่ามีความหมายอย่างไร บริหารจัดการอย่างไร และจะใช้สื่อให้ฉลาดอย่างไร คนที่รู้เท่าทันสื่อจะสามารถอธิบายถึงบทบาทที่สื่อมีต่อชีวิตของพวกเขาได้ คนที่รู้เท่าทันสื่อจะเข้าใจธรรมเนียมปฏิบัติของสื่อหลากหลายประเภท และจะเพลิดเพลินกับการใช้สื่อชนิดต่างๆอย่างตั้งใจ
ตัวอย่างเช่น เขาจะเข้าใจผลกระทบของเพลงและอุปกรณ์ประกอบฉากที่มีต่อบทละครทางโทรทัศน์ ซึ่งการตระหนักรู้แบบดังกล่าว จะไม่ไปลดอรรถรสของการชมละคร แต่จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ชม “อิน” มากเกินไป จึงพูดได้ว่า คนที่รู้เท่าทันสื่อนั้นสามารถ ควบคุมประสบการณ์การรับสื่อของตนได้
การประชุมสัมมนาในปี พ.ศ. 2532 จัดโดยสมาคมการรู้เท่าทันสื่อแห่งประเทศ แคนาดา ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “จุดมุ่งหมายของการสอนการรู้เท่าทันสื่อนั้น เพื่อพัฒนาให้คนที่รู้เท่าทันสื่อสามารถที่จะอ่าน วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสารบรรดาสื่อหลากหลายประเภท
[ในปัจจุบัน] สื่อสารมวลชนนำของโลกได้เข้ามาหาเราถึงในบ้าน เราพึ่งพาสื่อในการเรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับสิ่งแวดล้อมทางกาย สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง พูดง่ายๆ ก็คือ ทุกสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับผู้คน สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเราไม่สามารถรู้เห็นด้วยตาตนเองนั้น เราก็ได้รับรู้มาจากสื่อนั่นเอง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นผู้เล่าเรื่องประจำรุ่นเราไปแล้ว เรื่องราวเหล่านั้นบอกเล่าเกี่ยวกับตัวตน ความเชื่อ และความต้องการของเรา
สื่อต่างๆสอนให้เรารู้ว่าการเป็นผู้หญิงนั้นหมายถึงอะไร การเป็นครอบครัวควรเป็นอย่างไร หรือการแก่ตัวลงเป็น อย่างไร และเป็นเพราะเราได้รับสารเหล่านั้นซ้ำไปซ้ำมา จิตใต้สำนึกลึกๆ ของเราจึงยอมรับสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นความจริง โดยที่เราไม่ทันรู้ตัวหรือคิดถึงสิ่งเหล่านั้นด้วยซ้ำ
แหล่งข้อมูล
- เปิดโพล"ครูมะกัน" ชี้ จุดดี และจุดด้อย ของอินเทอร์เน็ต !!! - http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359362252&grpid=&catid=19&subcatid=1903 [2013, February 7].
- A Few Words about "Media Literacy" - http://www.cmp.ucr.edu/education/programs/digitalstudio/studio_programs/vidkids/medialit.html [2013, February 7].
รู้เท่าทันสื่อ
ทุกวันนี้สื่อมีความสำคัญแค่ไหน? แล้วจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้เท่าทัน? แล้วเราจะรู้เท่าทันได้อย่างไร? แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการรู้เท่าทันนี้? แล้วดิฉันจะเขียนอย่างไร นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในใจ หลังการที่ช่วงนี้ดิฉันคิดว่าอยากจะเขียนบทความนี้ ี้ ดิฉันใช้เวลาในการนั่งนิ่ง ๆแล้วตกตะกอนความคิดและหาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะเริ่มตอบคำถามของตัวเอง
ทุกวันนี้สื่อสำคัญแค่ไหน? ณ วันนี้บอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำเลยค่ะว่ามีความสำคัญมาก จะเปรียบเป็นปัจจัยสี่จำพวกอาหาร แต่เป็นอาหารแบบสังเคราะห์ที่รับประทานทางตาและหูแทนปากก็ว่าได้ จากการสังเกตเราจะเห็นได้ว่า เรามีสื่ออยู่รอบกายตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต เคเบิ้ล และแม้กระทั่งมือถือ จากงานวิจัยชิ้นนึงพบว่า ท่ามกลางครัวเรือนไทย 96% ที่มี โทรทัศน์ ร้อยละ 71 ของข่าวสารทางโทรทัศน์และวิทยุ เป็น "ข่าวร้าย"
หรือเรื่องที่ชวนให้รู้สึกหมดหนทางต่อสู้ (helplessness - invoking) ในขณะที่ "ข่าวดี"หรือเรื่องที่ชวนให้มีความหวังมีเพียงร้อยละ 12 เช่นกันกับที่ "โครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย" โดย พญ. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ พบว่า- เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ชมภาพความรุนแรงวันละ 501 ครั้ง - เด็กประถมทั้งชาย-หญิง ชมรายการการ์ตูนที่เน้นไปในทางเพศเป็นอันดับ 1 ชมละคร อันดับ 2 และชมรายการเกมโชว์ เป็นอันดับ 3 - วัยรุ่นทั้งหญิง-ชาย ชมละครอันดับ 1 เกมโชว์อันดับ 2 และเพลงอันดับ 3 - วัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้เวลาดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง - เด็กๆ ทั่วไปใช้เวลาเรียนหนังสือในโรงเรียนปีละ 900 - 1,000 ชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาดูโทรทัศน์ ปีละ 1,000 - 1,200 ชั่วโมง - เว็บไซต์ที่มีทั่วโลก 7 ล้านเว็บ เป็นเว็บโป๊ 2 ล้านเว็บ โดยเด็ก 1 ใน 5 ทั่วโลกใช้อินเตอร์เน็ตได้รับเมล์ที่ส่อการล่อลวงทางเพศ
นี้เป็นข้อมูลเพียงกลุ่มเดียวในประเทศไทย คือกลุ่มเด็ก ความสำคัญคือ เด็กเหล่านี้เป็นกลุ่มวัยที่กำลังสร้างตัวตนของตนเอง จากประสบการณ์ที่เค้าได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการภาพที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือการได้สัมผัสโดยตรง แล้วถ้าประสบการณ์ที่เค้าได้รับจากสื่อส่วนมากเป็นเรื่องร้าย โดยไม่มีใครแนะนำถึงคุณค่า ความหมายของสื่อนั้น คุณว่า “อนาคตของชาติเราจะเป็นอย่างไร”
หรือแม้กระทั่งตัวเราเองตอบได้มั้ยว่า “เรากำลังเสพสื่อ หรือมีชีวิตอยู่ให้สื่อเสพ”ตอนนี้ทุกคนก็คงตอบคำถามที่สองได้แล้วว่า“จำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้เท่าทันสื่อ ? ”
“เราจะรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไร?” เราจะรู้เท่าทันสื่อได้ เราต้องรู้ธรรมชาติสองอย่างคือ ธรรมชาติของสื่อ และธรรมชาติของตัวเราเองธรรมชาติของสื่อ โปรดระลึกไว้ว่า สื่อคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และมีจุดประสงค์ ในแง่ประโยชน์ของผู้สร้างอยู่ในนั้นเสมอ ธรรมชาติของตัวเราพึงระลึกไว้ว่า แต่ละตนมีจริตจิตใจในแบบของตัวเอง แบ่งได้ง่ายๆเป็นสามแบบคือ
โลภะ - คือจิตใจมีแนวโน้มจะเกิดความโลภหรือความต้องการ ีได้ง่าย สังเกตได้ว่า จิตใจแบบนี้มักแพ้ทางให้สื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น เห็นโรออนใช้แล้วรักแร้ขาว ก็อยากขาวบ้าง เห็นกาแฟดื่มแล้วผอม ก็อยากซื้อมาดื่มบ้าง เห็นดารา นักร้องใช้ของสวย ๆ หรู ๆ ขับรถโก้ ๆ ก็อยากมีบ้าง
โดยเฉพาะเหล่านักแสดง ดารานักร้อง ที่ได้รับความนิยมหรือนายแบบนางแบบหน้าตาหล่อ ๆ สวย ๆ ที่เห็นแล้วทำให้อยากมีหน้าตาอย่างนั้นบ้าง จึงไม่น่าแปลกใจที่โฆษณาจะนำบุคคลเหล่านี้มาเป็นพรีเซนเตอร์
ยิ่งประกอบด้วยบริบทของเนื้อเรื่องที่ใช้แล้วมีเสน่ห์ ใช้แล้วมีคนมาชอบก็ยิ่งโดนใจ เพราะการเป็นที่สนใจจากบุคคลอื่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนวัยนี้โหยหา จึงไม่น่าแปลกหากยอดขายจะขึ้นตามคุณภาพของโฆษณา แทนที่จะขึ้นตามคุณภาพของสินค้าแต่เมื่อเราเข้าวัยผู้ใหญ่หลักการเลือกซื้อโรออนของเราก็จะต่างไป เด็กไม่ได้โง่นะค่ะ ขอย้ำเพียงแค่ความคิดเป็นไปตามพัฒนาการ เด็กหรือวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่ถูกสื่อเสพได้ง่ายโดยธรรมชาติ แต่ผู้ใหญ่อย่างเราถ้ายังถูกสื่อเสพอยู่อาจต้องตั้งข้อสงสัยว่า “เรารู้ทันตัวเองแต่ไหน?” และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ผลที่ตามมาคือ เราจะให้ความสำคัญกับวัตถุ และการได้มาของวัตถุนั้น มากกว่าคุณค่าและความดีงามภายในจิตใจ ที่เรามีอยู่แล้ว
โทสะ - คือจิตใจมีแนวโน้มจะเกิดความโกรธได้ง่าย ยอมหักไม่ยอมงอ คนกลุ่มนี้มักเสพสื่อที่ตัวเองรู้สึกว่ามีสาระ และโกรธเคืองเมื่อพบเห็นสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่าไร้สาระ หรือไม่เป็นอย่างที่ตัวเองคิด จิตใจแบบนี้ มักแพ้ทางให้รายการข่าว รายการเสวนาหรือการอภิปราย ยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการเมือง เห็นเค้าประท้วงก็อยากประท้วงบ้าง เป็นเค้าด่ากันก็อยากด่าบ้าง
ผลที่ตามมาคือ เราจะเอาเป็นเอาตายกับทุกสิ่งบนโลกนี้ มากกว่าจะมองเห็นความสวยงามแบบไม่สมบูรณ์แบบ ของโลกใบนี้ ตามความเป็นจริง
โมหะ - คือจิตใจที่มีแนวโน้มจะเกิดความหลงได้ง่าย คนกลุ่มนี้จะน่าเป็นห่วงมากหน่อย เพราะจิตใจแบบนี้ มักแพ้ทางให้กับสื่อทุกประเภท เพราะปล่อยตัวเองให้หลงเชื่ออะไรง่ายๆ ตามความคุ้ยเคย ความทุกข์ใจก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ผลที่ตามมาคือ เราจะรู้สึกสับสนทั้งด้านอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตนเอง โดยลืมไปว่าเราก็เป็นเราความสำคัญของการรู้ธรรมชาติของตัวเองก็คือ การรู้ว่าเราให้ความสำคัญกับอะไร เพราะสิ่งที่อันตรายคือการหลงให้ความสำคัญอย่างไร้สติ ฉะนั้นตราบใดที่เรายังไม่รู้เท่าทันตัวเอง การจะไปรู้เท่าทันสิ่งอี่นโดยเฉพาะสื่อ ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่ง “เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการรู้เท่าทันนี้?” ถ้าเมื่อไหร่ที่สิ่งที่เราได้รับจากสื่อ ทำให้จิตใจรู้สึกไม่ปกติ อาจจะทุกข์หรือสุขจนเกินไป ให้ระวังไว้ว่า “คุณอาจกำลังโดนสื่อเสพ” สื่อนั้นจะกลายเป็นโทษแทนประโยชน์ ในทางกลับกันถ้า “คุณกำลังเสพสื่อ” คุณจะรู้สึกว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากสื่อที่ได้รับอยู่เสมอ ต่อมาจะรู้สึกว่า สื่อจะเป็นอย่างไรคงไม่สำคัญเท่าเราได้เรียนรู้อะไรจากสื่อนั้น
แล้วจะดีแต่ไหนถ้าเด็ก ๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เค้าได้เรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อ ไปพร้อมๆ กับคุณ
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อที่จะเท่าทันสื่อได้นั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญเรียงลำดับ ได้ดังนี้
1. การเข้าถึง (Access)
การเข้าถึงสื่อ
คือ การได้รับสื่อประเภทต่างๆ
ได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วสามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของสื่อประเภทต่างๆ
ได้อย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งทำความเข้าใจความหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
โดย
- อ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นๆและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
- จดจำและเข้าใจความหมายของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และเทคนิคที่ใช้ในการสื่อสาร
- พัฒนากลยุทธ์ เพื่อหาที่มาของข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่หลากหลาย
- เลือกคัดกรองข้อมูล ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2. การวิเคราะห์ (Analyze)
การวิเคราะห์ คือ
การตีความเนื้อหาสื่อตามองค์ประกอบและแบบฟอร์มของสื่อ
แต่ละประเภทว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคม
การเมืองหรือเศรษฐกิจโดยใช้พื้นความรู้เดิมและประสบการณ์ในการคาดการณ์ถึงผล
ที่จะเกิดขึ้น โดยอาจใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
การแยกองค์ประกอบย่อยต่างๆ
หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุและผลการทำความเข้าใจเนื้อหาบริบทที่ต้องการ
สื่อ เช่น
- ใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อทำนายผลที่จะเกิด
- ตีความเนื้อหา โดยใช้หลักการวิเคราะห์พื้นฐาน
- ใช้กลวิธีต่างๆ ได้แก่การเปรียบเทียบ/หาความแตกต่าง/ข้อเท็จจริง/ความคิดเห็น เหตุและผล การลำดับความสำคัญ
- ใช้ความรู้เกี่ยวกับบริบททางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจเป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์และตีความหมาย
3. การประเมินค่าสื่อ (Evaluate)
การประเมินค่าของ
สื่อ เป็นผลจากการวิเคราะห์สื่อที่ผ่านมาทำให้สามารถที่จะประเมินคุณภาพ
ของเนื้อหาที่มี คุณค่าต่อผู้รับสารมากน้อยเพียงใด
สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสารในด้านใดได้บ้าง
คุณค่าที่เกิดขึ้นเป็นคุณค่าที่เกิดขึ้นทางใจ อารมณ์ ความรู้สึก
หรือมีคุณค่าทางศีลธรรม จรรยาบรรณ สังคม วัฒนธรรมหรือประเพณี
ความสามารถในการประเมินเนื้อหา
โดยสร้างความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับประสบการณ์
พร้อมเสนอความเห็นในแง่มุมที่หลากหลาย
4. การสร้างสรรค์ (Create)
การเรียนรู้สื่อ
รวมถึงการพัฒนาทักษะ การสร้างสื่อในแบบฉบับของตนเองขึ้นมา
เมื่อผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถวิเคราะห์วิจารณ์
ประเมินค่าสื่อได้อย่างถ่องแท้แล้ว ทุกคนจะต้องวางแผน เขียนบท
ค้นคว้าข้อมูลเนื้อหามาประกอบ
ความสามารถในการ
สร้างสรรค์ (หรือสื่อสาร) เนื้อหาโดยการเขียนบรรยายความคิด ใช้คำศัพท์
เสียง หรือการสร้างภาพให้มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย
ซึ่งมีวิธีการสร้างสื่อแบบสร้างสรรค์ ดังนี้
- ใช้ประโยชน์จากขั้นตอนการระดมสมอง วางแผน เรียบเรียง และแก้ไข
- ใช้ภาษาเขียนและภาษาพูดอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดตามหลักของภาษาศาสตร์
- สร้างสรรค์และเลือกภาพอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้
- ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการวางโครงสร้างของเนื้อหา
เทคนิค 3 ขั้นตอนของการรู้เท่าทันสื่อ
ขั้นตอนที่ 1 คือ ความตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกและลดเวลาในการชมโทรทัศน์ วิดิทัศน์ เล่นเกมส์ ชมภาพยนตร์และ สื่อแบบต่างๆ
ขั้นตอนที่ 2 คือ เรียนรู้ทักษะเฉพาะในการวิเคราะห์สื่อ
เรียนรู้ที่จะวิเคราะห์และตั้งคำถามว่าอะไรอยู่ในกรอบ
สร้างสรรค์สื่ออย่างไร และ มีสารใดที่ไม่ได้นำเสนอ
ทักษะในการวิเคราะห์เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดด้วยวิธีการตั้งคำถามในห้อง
เรียน ในกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พร้อมๆ กับการสร้างสรรค์และผลิตสื่อด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 3 คือ การค้นหาประเด็นในระดับลึกขึ้น
ใครผลิตสื่อและเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ใครได้กำไร ใครเสีย
และใครเป็นผู้ตัดสินใจในการผลิตสื่อ ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์เศรษฐกิจ
การเมืองและสังคม
ดูว่าคนในสังคมสร้างความหมายจากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านสื่ออย่างไร
และสื่อสร้างวัฒนธรรมบริโภคนิยมอย่างไร
แสดงความคิดเห็น : การรู้เท่าทันสื่อในปัจจุบันนั้นมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเข้าถึง การสร้างสรรค์ หรืออื่นๆ การรับข่าวสารต่างๆควรพิจารณาตามหลักเหตุผล อ้างอิงข้อเท็จจริง ใช้วิจารณญาณในการรับฟัง รับชม ไม่ควรเชื่อไปหมดทุกสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันการหลงเชื่อ การรับรู้สิ่งผิดๆซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้เราเสียประโยชน์ ในฐานะนักเรียน เราควรใช้สื่ออย่างพอประมาณ ใช้ในทางที่มีประโยชน์มากกว่าไม่มีประโยชน์ และไม่ควรโพสต์สิ่งที่จะทำให้เราได้รับผลกระทบต่อโพสต์นั้น ควรแชร์สิ่งที่มีประโยชน์ และมีวิจารณญาณในการใช้สื่อมากพอสมควร